ยินดีต้อนรับ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นคนง่ายๆ ร่าเริง

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักการอ่านแผนที่

หลักเกณฑ์การอ่านแผนที่
การใช้แผนที่เพื่อประโยชน์ศึกษาข้อมูลต่างๆ ควรเริ่มต้นด้วยการอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจถูกต้องและชัดเจนเสียก่อน เช่น เข้าใจสัญลักษณ์ มาตรส่วน ทิศ และการเปรียบเทียบ ระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง เป็นต้น
การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ง่ายๆ
การศึกษาให้เข้าใจ “องค์ประกอบของแผนที่” จะช่วยให้สามารุอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้ถูกต้อง สะดวก และชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างดังนี้
ชื่อของแผนที่ เช่น แผนที่ประเทศไทย และลักษณะภูมิประเทศ
มาตรส่วนแผนที่ (Map Scale) จะบอกให้ทราบว่าแผนที่นั้นย่อส่วนจากพื้นที่จริงในอัตราส่วนเท่าไร โดยบอกเป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง เช่น 1:500,000 เป็นต้น มาตราส่วนแผนที่มี 2 รูปแบบดังนี้
(1) มาตราส่วนตัวเลข หรือมาตราส่วนเศษส่วน เช่น 1 : 100,000
(2) มาตรส่วนเส้นบรรทัด (Bar Scale)
ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่ (Geographic Coordinates) เป็นค่าที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ต่าง ที่ปรากฏบนพื้นโลก โดยกำหนดเรียกหน่วยวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา ตัวอย่าง เช่น
ประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างละติดจูด 5 องศา 37 ลิบดาเหนือ ถึง 20 องศาเหนือ 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิบดาตะวันออก ถึง 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก
เครื่องหมายชี้ทิศ (Direction) ทิศหลักในแผนที่ที่มี 3 ชนิด ได้แก่ ทิศเหนือจริง ทิศเหนือแม่เหล็ก และทิศเหนือกริด ในแผนที่จะมีเครื่องหมายชี้ทิศ เรียกว่า แผนภาพเดคลิเนชั่น (Declination Diagram) เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างทิศหลักทั้งสามชนิดดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้
(1) ทิศเหนือจริง คือ แนวที่ชี้ไปสู่ขั้วโลกเหนือ เส้นเมริเดียนทุกเส้นตามค่าลองจิจูดจะชี้ไปยังแนวทิศเหนือจริง สัญลักษณ์ของทิศเหนือจริง คือ รูปดาว
(2) ทิศเหนือแม่เหล็ก คือ แนวที่ปลายลูกศรของเข็มทิศขี้ไปยังขั้วแม่เหล็กในซีกโลกเหนือ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นลูกศร
(3) ทิศเหนือกริด คือ แนวทิศเหนือที่เกิดจากเส้นกริด หรือเส้นที่ลากในแผนที่ตัดกันเป็นมุมฉากทิศเหนือกริดใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษร GN
การใช้สัญลักษณ์ (Symbal) แผนที่ทุกประเภทจะใช้สัญลักษณ์แทนข้อมูลต่างๆ โดยจะบอกให้ทราบความหมายของสัญลักษณ์ไว้ที่ขอบล่างด้านขวาของแผนที่ สัญลักษณ์ ที่ใช้แสดงมี 3 ประเภทคือ
(1) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางกายภาพ (สิ่งที่เกิดเองโดยธรรมชาติ) เช่น สัญลักษณ์ของเทือเกจา แม่น้ำ ที่ราบสูง และป่าไม้พืชพรรณธรรมขาติ ฯลฯ อาจแสดงด้วนเส้น จุด สี การแรเงาหนาทึบหรือรูปร่างต่างๆ
(2)สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม (สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น) เช่น ถนน อาคาร วัด โรงเรียน ที่ทำการอำเภอ ฯลฯ อาจใช้รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม และอื่น ๆ ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจและจดจำได้โดยง่าย
(3) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะเรื่อง เช่น ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ได้แก่พื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่เลี้ยงวัวเนื้อและวัวนม ฯลฯ หรือข้อมูลทางด้านสาธารณะสุข เช่น พื้นที่แพร่ระบาดของไข้หวัดนก ฯลฯ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปสัตว์หรืออื่นๆ ที่สื่อความหมายเข้าใจง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น