ยินดีต้อนรับ

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
เป็นคนง่ายๆ ร่าเริง

วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2552

*_*.....คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน....*_*




ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารู้สึกว่าระบบการเรียนการสอนของบ้านเราจะนับวันถอยหลังเข้าคลองไปทุกที ขณะที่ต่างชาติส่วนใหญ่เขาใส่เกียร์ 5 เดินหน้าเต็มที่ แต่บ้านเรากลับพบว่าเหมือนกับจะใส่เกียร์ 5 เหมือนกัน แต่ถอยหลังแทนที่จะเดินหน้า ไม่รู้ว่าเป็นเพราะระบบ/หลักสูตร เป็นเพราะผู้สอน เป็นเพราะผู้เรียน เรื่องใดกันแน่หรือาจเป็นเพราะคนดีไม่ได้บริหาร คนที่บริหารก็ไม่ค่อยดีหรืออาจจะดี แต่ก็แวดล้อมด้วยบริวารที่ไม่ดี หรือว่าสถานการณ์การศึกษาในบ้านเราอาจจะแย่ลงจนยากเยียวยา ก็ไม่อาจรู้ได้ คงต้องทำใจ แต่ก็ยังมีความหวังว่ากรุงรัตนโกสินทร์คงไม่สิ้นคนดี พิมพ์ไปพิมพ์มาจะกลายเป็นเรื่องการเมืองไปสะแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้กฏหมายออกมาพูดไรมากอาจโชคดีสามชั้นได้ที่อยู่ฟรีแล้วก็ข้าวผัดกะโอเลี้ยงฟรี แถมมียามคอยดูแลอีกต่างหากกลับมาเข้าเรื่องดีกว่า

ตั้งใจว่าวันนี้จะพูดเรื่อง คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพราะเห็นพูดกันมามากมายหลายสิบปี เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันและดูเหมือนทุกคนจะรู้และเข้าใจ แต่ถ้าถามว่าตกลงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีใครบ้างไหมที่จะช่วยตอบได้ กลับหาได้น้อยคน ระยะหลังพบว่ามีการเรียนการสอนเป็นวิชาให้เรียนกันในห้องเรียนกันเลยทีเดียว แต่เท่าที่ค้นดู เนื้อหาส่วนใหญ่ก็ไม่หนีคณิตศาสตร์ หรืออาจมีกลิ่นอายที่ต่างไปบ้างแต่ก็ไม่พ้น เซต ระบบจำนวน การให้เหตุผล สมการ อสมการ การแปลงเชิงเส้น ดอกเบี้ย ร้อยละ กำไรขาดทุนดัชนี การนับ สถิติความน่าจะเป็น อะไรประมาณนั้น บางวิชาที่สอนกันดูๆไปก็คล้ายๆกับเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐาน หรือ คณิตศาสตร์ธุรกิจมากกว่า แต่จะว่าไปชื่อนั้นสำคัญไฉน เรื่องบางเรื่องไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่ว่าจะมองอย่างไรมุมไหน เวลาไหนเท่านั้นเอง

ในความคิดส่วนตัวของผมเอง อาจผิดหรือถูกแล้วแต่มุมมองคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันนั้น น่าจะเป็นวิชาที่บรูณาการกับอีกหลายๆ สาขาวิชาเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานหรือใช้ในชีวิตจริง เพื่อเป็นดั่งสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างโลกของคณิตกับโลกของความจริงแล้วถ้าเป็นไปได้น่าจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ไปสู่เรื่องยากๆ เพื่อผู้ที่ไม่มีพื้นไม่รักวิชานี้ จะได้เริ่มรู้เข้าใจว่าส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร แล้วสามารถคิดเป็นวิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ท่องไปจำไปเพื่อสอบ เพราะการที่เรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แล้วในขณะเดียวกันก็เป็นการเรียนรู้อดีต ปัจจุบัน และศึกษาแนวโน้มในอนาคต แล้วสุดท้ายเมื่อรู้รอบพอควรแล้วก็ไม่พ้นกลับมาเรียนรู้ตนเอง น่าสังเกตนะครับว่าคนที่รักคณิตศาสตร์ ส่วนหนึ่งจะรักที่จะเรียนรู้ปรัชญา เรียนรู้ธรรม แล้วส่วนหนึ่งในนี้จะเข้าใจว่าการเรียนคณิตศาสตร์เป็นเหมือนกับประตูหรือเครื่องมือที่พาเราไปสู่โลกการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด และมีส่วนทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์

ทั้งหมดนี้อย่าคิดว่าผมถูกและอย่าเชื่อนะครับเป็นเพียงแค่ความคิดคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นเอง พูดไปแล้วออกจะหนักไปทางปรัชญามากหน่อย ลองตามมาดูกันนะครับว่าถ้าจะนำสิ่งเหล่านี้ไปจัดทำเป็นรายวิชาหรือให้มีเนื้อหาน่าจะทำได้อย่างไร แต่คงต้องบอกไว้ก่อนว่าไม่มีอะไรที่ดีที่สุดและก็หวังว่าคงจะมีผู้ชี้แนะแนวทางเพิ่มเติมเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน เท่าที่ผมกำลังพยายามอยู่นั้นผมมองว่า คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันอาจแบ่งออกได้เป็นหลายแง่มุม

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ปริซึม

*_*...การหาปริมาตรของปริซึม...*_*


                ปริมาตรของปริซึมขึ้นกับพื้นที่ฐานกับความสูง ผู้เรียนจะต้องหาพื้นที่ฐานให้ได้ จึงนำมาเข้าสูตร   ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง

        ตัวอย่าง ปริซึมแก้วแท่งหนึ่งมีฐานเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ด้านที่เท่ากันยาวด้านละ 5 เซ็นติเมตร ด้านที่เหลือยาว 6 เซ็นติเมตร สูง 10 เซ็นติเมตร
จงหาปริมาตรและพื้นที่ผิวของปริซึมนี้
วิธีทำ แนวคิด การหาพื้นที่ฐาน แต่ยังไม่มีส่วนสูงของฐาน ด้วยทฤษฎีปิทาโกรัส

ได้พื้นที่ฐาน 1 หน้า = 1/2 x 6 x 4 = 12 ตารางเซ็นติเมตร

พื้นที่ผิวข้าง ประกอบด้วย พื้นที่สี่เหลี่ยม 5 x 10 จำนวน 2 รูป + พื้นที่สี่เหลี่ยม 6 x 10 จำนวน 1 รูป
ดังนั้น พื้นที่ผิวของปริซึม = (2 x 12) + 2(5 x 10) + (6 x 10) = 184 ตารางเซ็นติเมตร
ปริมาตรของปริซึม = พื้นที่ฐาน x สูง = 12 x 10 = 120 ลูกบาศก์เซ็นติเมตร


จุดประสงค์ : หาพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึมได้ถ้าฐานเป็นสามเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่ายาวด้านละ 7 ซม. สูง 15 ซม. ปริซึมนี้จะมีปริมาตรเท่าใด ลองหาดู ถ้าจำสูตรการหาพื้นที่สามเหลี่ยมด้านเท่าไม่ได้ กลับไปหน้าหลัก ไปดูสูตรการหาพื้นที่ต่าง ๆ นะจ๊ะ
                 จะเห็นว่า การหาพื้นที่ผิวและปริมาตรของปริซึม จะต้องหาพื้นที่ฐานและพื้นที่ผิวข้างซึ่งพื้นที่ผิวข้างจะเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมมุมฉาก ดังนั้นจึงควรจำสูตรการหาพื้นที่ฐานให้ได้ เช่นสูตรการหาพื้นที่สามเหลี่ยมด้านเท่า, สามเหลี่ยมทั่วไป, สี่เหลี่ยม, ห้าเหลี่ยม, หกเหลี่ยม, เจ็ดเหลี่ยม, แปดเหลี่ยม ฯลฯ

****คนที่รู้จักพีระมิดมักพูดถึงชาวอียิปต์


               คำถามหนึ่งที่คนทุกคนที่รู้จักพีระมิดมักถามคือ คนอียิปต์โบราณสร้างพีระมิดได้อย่างไร และสร้างมันขึ้นด้วยเหตุใด และทำไมจึงต้องมีรูปแบบนั้น ในความเป็นจริง คนอียิปต์มิได้เป็นชนชาติเดียวเท่านั้นที่รู้จักสร้างพีระมิด ใน Sudan ก็มีพีระมิดใน Mexico ชน Aztec ก็สร้างพีระมิดเช่นกัน และแม้แต่ในอียิปต์เองก็มีพีระมิดอื่นๆ อีกราว 800 พีระมิด
               ข้อสังเกตหนึ่งที่นักอียิปต์วิทยาสรุปได้จากการศึกษาพีระมิดคือ ผิวด้านข้างของพีระมิดที่สร้างในยุคแรกๆ นั้น มิได้ราบเรียบ แต่มีลักษณะเป็นขั้นบันได เสมือนจะให้กษัตริย์ได้ใช้ดำเนินขึ้นไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้าบนสวรรค์ ดังที่ฟาโรห์ Djoser ได้ทรงสร้างพีระมิดขั้นบันไดขึ้นที่ Saqqara เมื่อ 4,680 ปีก่อนนั้น
              ตามปกติคนอียิปต์นั้นมีความเชื่อว่า ฟาโรห์คือเทพเจ้าผู้เป็นทั้งแม่ทัพ ผู้พิพากษา และเป็นผู้พิทักษ์รักษาทรัพย์สมบัติของแผ่นดินทั้งมวล พูดง่ายๆ คือ พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจคนทุกคนในประเทศ ดังนั้น ในการสร้างพีระมิดแต่ละลูก คนงานที่ลากหินมาสร้างพีระมิดจึงไม่ใช่ทาส แต่เป็นชาวนา ชาวไร่ผู้มีความเชื่อว่า สิ่งที่ตนกำลังทำนั้น มีส่วนช่วยให้องค์ฟาโรห์ได้ไปจุติบนสวรรค์ และเมื่อถึงเวลาที่ตนจะจากโลกนี้ไปบ้าง เทพฟาโรห์ก็จะได้พิทักษ์ปกป้องตนต่อไป
              เพราะพีระมิดที่สร้างเมื่อ 4,000 ปีก่อน ยังตั้งตระหง่านอยู่ได้จนทุกวันนี้ ความยืนยงคงกระพันของพีระมิดได้ทำให้ชาวอียิปต์มีคำกล่าวว่า ถึงแม้เวลาจะทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เวลาก็มิอาจทำลายพีระมิดได้
               ตัวพีระมิดแห่ง Giza ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ Nile เพราะชาวอียิปต์ถือว่าดินแดนในทิศตะวันตกคือ ดินแดนสำหรับคนที่ตายไปแล้ว ดังนั้น เมื่อดวงอาทิตย์ตกทางทิศตะวันตก ดวงอาทิตย์จึงได้ติดตามเหล่าวิญญาณไป ส่วนองค์ฟาโรห์นั้น พระองค์คือเจ้าชีวิตของประชาชนที่คนทุกคนอาจตายแทนได้

วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

*_*...คณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน...*_*

                    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารู้สึกว่าระบบการเรียนการสอนของบ้านเราจะนับวันถอยหลังเข้าคลองไปทุกที ขณะที่ต่างชาติส่วนใหญ่เขาใส่เกียร์ 5 เดินหน้าเต็มที่ แต่บ้านเรากลับพบว่าเหมือนกับจะใส่เกียร์ 5 เหมือนกัน แต่ถอยหลังแทนที่จะเดินหน้า ไม่รู้ว่าเป็นเพราะระบบ/หลักสูตร เป็นเพราะผู้สอน เป็นเพราะผู้เรียน เรื่องใดกันแน่ หรือาจเป็นเพราะคนดีไม่ได้บริหาร คนที่บริหารก็ไม่ค่อยดี หรืออาจจะดี แต่ก็แวดล้อมด้วยบริวารที่ไม่ดี หรือว่าสถานการณ์การศึกษาในบ้านเราอาจจะแย่ลงจนยากเยียวยา ก็ไม่อาจรู้ได้ คงต้องทำใจ แต่ก็ยังมีความหวังว่ากรุงรัตนโกสินทร์คงไม่สิ้นคนดี พิมพ์ไปพิมพ์มาจะกลายเป็นเรื่องการเมืองไปสะแล้ว ยิ่งเดี๋ยวนี้กฏหมายออกมาพูดไรมากอาจโชคดีสามชั้นได้ที่อยู่ฟรี แล้วก็ข้าวผัดกะโอเลี้ยงฟรี แถมมียามคอยดูแลอีกต่างหาก ... วกกลับมาเข้าเรื่องดีกว่า ตั้งใจว่าวันนี้จะพูดเรื่อง คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน เพราะเห็นพูดกันมามากมายหลายสิบปี เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันและดูเหมือนทุกคนจะรู้และเข้าใจ แต่ถ้าถามว่าตกลงเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีใครบ้างไหมที่จะช่วยตอบได้ กลับหาได้น้อยคน ระยะหลังพบว่ามีการเรียนการสอนเป็นวิชาให้เรียนกันในห้องเรียนกันเลยทีเดียว แต่เท่าที่ค้นดู เนื้อหาส่วนใหญ่ก็ไม่หนีคณิตศาสตร์ หรืออาจมีกลิ่นอายที่ต่างไปบ้างแต่ก็ไม่พ้น เซต ระบบจำนวน การให้เหตุผล สมการ อสมการ การแปลงเชิงเส้น ดอกเบี้ย ร้อยละ กำไรขาดทุน ดัชนี การนับ สถิติ ความน่าจะเป็น อะไรประมาณนั้น บางวิชาที่สอนกันดูๆไปก็คล้ายๆกับเป็นคณิตศาสตร์พื้นฐาน หรือ คณิตศาสตร์ธุรกิจมากกว่า แต่จะว่าไปชื่อนั้นสำคัญไฉน เรื่องบางเรื่องไม่มีถูกหรือผิด ขึ้นอยู่ว่าจะมองอย่างไรมุมไหน เวลาไหนเท่านั้นเอง
                       ในความคิดส่วนตัวของผมเอง อาจผิดหรือถูกแล้วแต่มุมมองคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันนั้น น่าจะเป็นวิชาที่บรูณาการกับอีกหลายๆ สาขาวิชาเข้าด้วยกัน หรืออาจเป็นการประยุกต์เพื่อนำไปใช้งานหรือใช้ในชีวิตจริง เพื่อเป็นดั่งสะพานที่เชื่อมโยงระหว่างโลกของคณิตกับโลกของความจริง แล้วถ้าเป็นไปได้น่าจะเริ่มจากเรื่องง่ายๆ ไปสู่เรื่องยากๆ เพื่อผู้ที่ไม่มีพื้นไม่รักวิชานี้ จะได้เริ่มรู้เข้าใจว่าส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์ที่แท้จริงนั้นเป็นอย่างไร แล้วสามารถคิดเป็นวิเคราะห์เป็น สามารถนำความรู้ไปใช้ได้ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่ท่องไปจำไปเพื่อสอบ เพราะการที่เรียนรู้คณิตศาสตร์นั้นส่วนหนึ่งจะเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม แล้วในขณะเดียวกันก็เป็นการเรียนรู้อดีต ปัจจุบัน และศึกษาแนวโน้มในอนาคต แล้วสุดท้ายเมื่อรู้รอบพอควรแล้วก็ไม่พ้นกลับมาเรียนรู้ตนเอง น่าสังเกตนะครับว่าคนที่รักคณิตศาสตร์ ส่วนหนึ่งจะรักที่จะเรียนรู้ปรัชญา เรียนรู้ธรรม แล้วส่วนหนึ่งในนี้จะเข้าใจว่าการเรียนคณิตศาสตร์เป็นเหมือนกับประตูหรือเครื่องมือที่พาเราไปสู่โลกการเรียนรู้แบบไม่มีที่สิ้นสุด และมีส่วนทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าจะพูดให้ละเอียดคงเขียนหรือพิมพ์กันได้อีกหลายตอนแน่
                    ทั้งหมดนี้อย่าคิดว่าผมถูกและอย่าเชื่อนะครับเป็นเพียงแค่ความคิดคนธรรมดาคนหนึ่งเท่านั้นเอง พูดไปแล้วออกจะหนักไปทางปรัชญามากหน่อย ลองตามมาดูกันนะครับว่าถ้าจะนำสิ่งเหล่านี้ไปจัดทำเป็นรายวิชาหรือให้มีเนื้อหาน่าจะทำได้อย่างไร แต่คงต้องบอกไว้ก่อนว่าไม่มีอะไรที่ดีที่สุดและก็หวังว่าคงจะมีผู้ชี้แนะแนวทางเพิ่มเติมเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน เท่าที่ผมกำลังพยายามอยู่นั้นผมมองว่า คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันอาจแบ่งออกได้เป็นหลายแง่มุม
*_*.....ประวัติความเป็นมาจังหวัดนนทบุรี .....*_*


                        เมืองนนทบุรี มีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 400 ปี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองน้อยใหญ่มากมาย เป็นเมืองเก่าแก่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตลาดขวัญ ซึ่งเป็นสวนผลไม้ที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น ได้รับการยกฐานะเป็นเมืองนนทบุรีเมื่อ พ.ศ. 2092 ในรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ บ้านตลาดขวัญ เป็นดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวนผลไม้ ที่มีชื่อแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ฝรั่งต่างชาติ ที่ได้เดินทางเข้ามาค้าขาย และเจริญสัมพันธไมตรี กับกรุงศรีอยุธยา ต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ ดังปรากฏในจดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง ของลาลูแบร์ ชาวฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเดินทางเข้ามา ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ว่า “สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น (หมายถึงกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน) มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่ง โดยทวนขึ้นสู่เมืองสยามถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ (TALACOUN) ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหาร ซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา” (จดหมายเหตุลาลูแบร์)
                       ปี พ.ศ. 2179 พระเจ้าปราสาททองโปรดเกล้าฯให้ขุดคลองลัดตอนใต้วัดท้ายเมือง ไปทะลุวัดเขมา เพราะเดิมนั้นแม่น้ำเจ้าพระยา ไหลวกเข้าแม่น้ำ อ้อมมาทางบางใหญ่ วกเข้าคลองบางกรวย ข้างวัดชลอ มาออกหน้าวัดเขมา เมื่อขุดคลองลัดแล้ว แม่น้ำก็เปลี่ยนทางเดินไหลเข้าคลองลัด ที่ขุดใหม่ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาใหม่ ดังปัจจุบันนี้ เมื่อ พ.ศ. 2208 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเห็นว่า แม่น้ำเปลี่ยนทางเดินใหม่นั้น ทำให้ข้าศึกประชิดพระนครได้ง่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างป้อมปราการ ตรงปากแม่น้ำอ้อม และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายเมืองนนทบุรี มาอยู่ปากแม่น้ำอ้อมด้วย ดังมีศาลหลักเมืองปรากฏอยู่ นอกจากป้อมที่ปากแม่น้ำอ้อมแล้ว เข้าใจว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา คงจะได้มีการสร้างป้อมไม้เอาไว้ ที่บริเวณวัดเฉลิมพระเกียรติ ในปัจจุบัน เพราะปรากฏหลักฐาน จากจดหมายเหตุ รายวัน ของบาทหลวง เดอ ชัวซีย์ ผู้ซึ่งเดินทางร่วมมากับคณะราชทูต ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญทางพระราชไมตรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ พ.ศ.2228 ว่า “เช้าวันนี้เราผ่านป้อมที่ทำด้วยไม้ 2 ป้อม ป้อมหนึ่ง ยิงปืนเป็นการคำนับ 10 นัด อีกป้อมหนึ่ง 8 นัด ที่มีแต่ปืนครกเท่านั้น ดินปืนดีมากทีเดียว ป้อมทางขวามือ เรียกป้อมแก้ว และป้อมทางซ้ายมือ เรียกป้อมทับทิม ณ ที่นี้เจ้าเมืองบางกอกก็กล่าวคำอำลา และอ้างเหตุว่า ได้ควบคุมเรือขบวน มาส่งจนสุดแดน ที่อยู่ในความปกครอง ของเมืองบางกอกแล้ว แล้วก็ลาท่านราชทูตกลับไป และในปี พ.ศ. 2230 เมื่อลาลูแบร์ เป็นราชทูต เข้ามากรุงศรีอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงป้อมไม้แห่งนี้ไว้ด้วย โดยที่เขียนเป็นแผนที่เอาไว้ อย่างชัดเจน ตามหลักฐานดังกล่าว จึงเข้าใจว่าป้อมแก้ว คงตั้งอยู่ ณ บริเวณตลาดแก้ว ส่วนป้อมทับทิม เข้าใจว่า คงตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าวัดเฉลิมพระเกียรติในปัจจุบัน
                      ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 แห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ โปรดเกล้าฯให้ย้ายเมืองนนทบุรีไปตั้งที่ปากคลองบางซื่อบ้านตลาดขวัญ และในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งศาลากลางเมืองขึ้น ที่ปากคลองบางซื่อ ฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา จนถึงปี พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายศาลากลาง มาตั้งที่ราชวิทยาลัย บ้านบางขวาง ตำบลบางตะนาวศรี ปัจจุบันเป็นที่ตั้งกองฝึกอบรม กระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 อำเภอเมือง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคาร เป็นสถาปัตยกรรม แบบยุโรป ตามอาคารประดับด้วยไม้ฉลุ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา กรมศิลปากร ได้ขึ้นบัญชีเป็นโบราณสถานแห่งหนึ่ง และในปัจจุบันศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี ได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ที่ถนนรัตนาธิเบศร์



วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ทฤษฎีบทปีทาโกรัส

ทฤษฎีบทปีทาโกรัส
การเปรียบเทียบทฤษฎีบทปีทาโกรัส กับบทกลับของทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
ทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
ข้อความที่เป็นเหตุ คือ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก
c แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก
a และ b แทนความยาวของด้านประกอบมุมฉาก
ข้อความที่เป็นผล คือ c2 = a2 + b2
บทกลับของทฤษฎีบทของปีทาโกรัส
ข้อความที่เป็นเหตุ คือ ABC เป็นรูปสามเหลี่ยม มีด้านยาว a , b และ c หน่วย และ
c2 = a2 + b2ล
ข้อความที่เป็นผล คือ รูปสามเหลี่ยม ABC เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก และมีด้านที่ยาว
c หน่วยเป็นด้านตรงข้ามมุมฉาก

หลักการอ่านแผนที่

หลักเกณฑ์การอ่านแผนที่
การใช้แผนที่เพื่อประโยชน์ศึกษาข้อมูลต่างๆ ควรเริ่มต้นด้วยการอ่านและแปลความหมายของแผนที่ให้เข้าใจถูกต้องและชัดเจนเสียก่อน เช่น เข้าใจสัญลักษณ์ มาตรส่วน ทิศ และการเปรียบเทียบ ระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง เป็นต้น
การอ่านและแปลความหมายของแผนที่ง่ายๆ
การศึกษาให้เข้าใจ “องค์ประกอบของแผนที่” จะช่วยให้สามารุอ่านและแปลความหมายจากแผนที่ได้ถูกต้อง สะดวก และชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างดังนี้
ชื่อของแผนที่ เช่น แผนที่ประเทศไทย และลักษณะภูมิประเทศ
มาตรส่วนแผนที่ (Map Scale) จะบอกให้ทราบว่าแผนที่นั้นย่อส่วนจากพื้นที่จริงในอัตราส่วนเท่าไร โดยบอกเป็นอัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางในภูมิประเทศจริง เช่น 1:500,000 เป็นต้น มาตราส่วนแผนที่มี 2 รูปแบบดังนี้
(1) มาตราส่วนตัวเลข หรือมาตราส่วนเศษส่วน เช่น 1 : 100,000
(2) มาตรส่วนเส้นบรรทัด (Bar Scale)
ค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ในแผนที่ (Geographic Coordinates) เป็นค่าที่บอกตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่ต่าง ที่ปรากฏบนพื้นโลก โดยกำหนดเรียกหน่วยวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา ตัวอย่าง เช่น
ประเทศไทย ตั้งอยู่ระหว่างละติดจูด 5 องศา 37 ลิบดาเหนือ ถึง 20 องศาเหนือ 27 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 97 องศา 22 ลิบดาตะวันออก ถึง 105 องศา 37 ลิปดาตะวันออก
เครื่องหมายชี้ทิศ (Direction) ทิศหลักในแผนที่ที่มี 3 ชนิด ได้แก่ ทิศเหนือจริง ทิศเหนือแม่เหล็ก และทิศเหนือกริด ในแผนที่จะมีเครื่องหมายชี้ทิศ เรียกว่า แผนภาพเดคลิเนชั่น (Declination Diagram) เพื่อให้ทราบถึงความแตกต่างระหว่างทิศหลักทั้งสามชนิดดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้
(1) ทิศเหนือจริง คือ แนวที่ชี้ไปสู่ขั้วโลกเหนือ เส้นเมริเดียนทุกเส้นตามค่าลองจิจูดจะชี้ไปยังแนวทิศเหนือจริง สัญลักษณ์ของทิศเหนือจริง คือ รูปดาว
(2) ทิศเหนือแม่เหล็ก คือ แนวที่ปลายลูกศรของเข็มทิศขี้ไปยังขั้วแม่เหล็กในซีกโลกเหนือ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นลูกศร
(3) ทิศเหนือกริด คือ แนวทิศเหนือที่เกิดจากเส้นกริด หรือเส้นที่ลากในแผนที่ตัดกันเป็นมุมฉากทิศเหนือกริดใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษร GN
การใช้สัญลักษณ์ (Symbal) แผนที่ทุกประเภทจะใช้สัญลักษณ์แทนข้อมูลต่างๆ โดยจะบอกให้ทราบความหมายของสัญลักษณ์ไว้ที่ขอบล่างด้านขวาของแผนที่ สัญลักษณ์ ที่ใช้แสดงมี 3 ประเภทคือ
(1) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางกายภาพ (สิ่งที่เกิดเองโดยธรรมชาติ) เช่น สัญลักษณ์ของเทือเกจา แม่น้ำ ที่ราบสูง และป่าไม้พืชพรรณธรรมขาติ ฯลฯ อาจแสดงด้วนเส้น จุด สี การแรเงาหนาทึบหรือรูปร่างต่างๆ
(2)สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะทางวัฒนธรรม (สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น) เช่น ถนน อาคาร วัด โรงเรียน ที่ทำการอำเภอ ฯลฯ อาจใช้รูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม และอื่น ๆ ที่สื่อความหมายให้ผู้ใช้แผนที่เข้าใจและจดจำได้โดยง่าย
(3) สัญลักษณ์ที่ใช้แทนลักษณะข้อมูลเฉพาะเรื่อง เช่น ข้อมูลทางเศรษฐกิจ ได้แก่พื้นที่ปลูกอ้อย พื้นที่เลี้ยงวัวเนื้อและวัวนม ฯลฯ หรือข้อมูลทางด้านสาธารณะสุข เช่น พื้นที่แพร่ระบาดของไข้หวัดนก ฯลฯ โดยใช้สัญลักษณ์เป็นรูปสัตว์หรืออื่นๆ ที่สื่อความหมายเข้าใจง่าย